หน้าหลัก › เว็บบอร์ด › อาหาร และโภชนาการ › สูตรการปรุงอาหาร › สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำมาจากอะไรค่ะ กินไปนานๆมีผลเสียอะไรรึเปล่า
สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำมาจากอะไรค่ะ กินไปนานๆมีผลเสียอะไรรึเปล่า
Posted by leena on ตุลาคม 24, 2020 at 5:18 pmสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำมาจากอะไรค่ะ กินไปนานๆจะมีผลเสียอะไรต่อร่างกายรึเปล่า แคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลทรายครึ่งต่อครึ่งเลย
anne ตอบกลับ 3 years, 9 months ago 7 Members · 6 Replies- 6 Replies
non caloric sweetener มักถูกนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในกรณีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์อาหาร หรืออาหารที่เราปรุงในชีวิตประจำวัน เช่น กาแฟ อาหารปรุงสุกทั่วไป หรือ เครื่องดื่ม ไม่มีพลังงาน เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่จำเป็นต้องลดพลังงานจากน้ำตาลในร่างกาย เช่นผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
ปกติจะจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สารสังเคราะห์ กับ สารจากธรรมชาติ เช่า หญ้าหวาน
เรื่องผลข้างเคียงเมื่อกินไปนานๆ คงไม่ได้มีอะไรรุนแรง ถ้าเรากินในปริมาณที่ถูกกำหนดตามหลักความปลอดภัยในการใช้วัตถุปรุงแต่งในอาหาร
เรื่องรสชาติ คงจะให้เหมือนน้ำตาลเลยคงไม่ได้ เพราะจริงๆแล้วน้ำตาลไม่ได้ทำให้เกิดความหวานในอาหารเพียงหน้าที่เดียว ยังสามารถช่วยทำให้เกิดเนื้อสัมผัสที่ดี หรือทำให้เกิดความกลมกลืนของรสชาติโดยรวม ดังนั้นเมื่อใช้สารให้ความหวานแทนก็ต้องทำใจว่าจะมีรสชาติที่ไม่ได้เหมือนเดิมที่ปรุงด้วยน้ำตาลเสียทีเดียว นอกจากนี้อาจจะมี ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์เมื่อบริโภค เช่น เกิดอาการขมปาก เมื่อรับประทานอาหารนั้นไปได้สักช่วงหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เกิดผลเสียอะไร ในเชิงพิษวิทยา อาจจะมีรายงานเรื่องการก่อมะเร็งโดยการเหนี่ยวนำของสารให้ความหวานบางตัว แต่ส่วนใหญ่แล้วโอกาสเกิดยากถ้าใช้ในระดับที่แนะนำ และใช้สารให้ความหวานที่อนุญาตให้ใช้ตามกฎหมาย
สำหรับสารให้ความหวานที่คนไทยรู้จักกันดี คือ ขัณฑสกรณ์ หรือ saccharin นั้น ไม่จัดเป็น food additive เนื่องจากเป็นสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร เพราะมีรายงานว่าก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่คนไทยใทยนิยมนำมาใช้ในการดองผลไม้ เพราะใช้น้อยกว่าน้ำตาลมาก เมื่อเราบริโภคเข้าไปเรามักจะรู้สึกว่า หวานติดลิ้นนาน และเกิดการกระหายน้ำ ส่วนสารให้ความหวานที่อนุญาตให้ใช้นั้น มีหลายชนิด และมีความจำเพาะในการใช้ต้อชนิดอาหาร บางชนิดเหมาะในการใช้กับชีวิตประจำวันหรือใช้ในบ้าน
แต่ในส่วนที่จขกท พูดถึงว่ามีการให้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำตาล อาจจะเป็น อนุพันธ์ของน้ำตาล เช่น เด็กโตส ฟรุกโตส หรือ อาจจะเป็นสูตรทางการค้าที่นำ อนุพันธ์ของน้ำตาลซูโคสมารวมกับสารให้ความหลานกลุ่มไม่ให้พลังงาน เพื่อปรับปรุงรสชาติให้ใกล้เคียงกับน้ำตาลทราย(ซูโครส)
ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ ขอบคุณค่า😍
เราทานน้ำผึ่งนิวซีแลนด์ ไม่ก็น้ำผึ่งของไทยนี่แหละค่ะ
ผมใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลครับ
โดยส้วนตัวเราไม่ชอบพวกสารที่ให้ความหวานแทนอะ เพราะเรารู้สึกว่ามันหวานติดคอ ไม่อร่อยเลย ถ้าจะกินหวานก็คือใส่ร้ำตาล น้ำผึ้ง ถ้าไม่กิน เราก็คือกินจืดไม่เลยไรงี้
นี่เลยทุกคน
แอสปาแตม (Aspartame ) น้ำตาลเทียมที่สกัดจากสารเคมี มีความหวานกว่าน้ำตาลธรรมชาติถึง 200 เท่า มีความขมเล็กน้อย มีข้อดีคือไม่ทำให้เกิดภาวะฟันผุ และไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
ซูคราโลส (sucralose) สารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายขาวถึง 600 เท่า มีข้อดีคือเป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัย ไม่มีสารสะสมในร่างกาย ไม่มีผลต่อน้ำตาลในเลือด ไม่ทำให้ฟันผุ และละลายน้ำได้ดี
หญ้าหวาน (Stevia) เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติและเป็นสารให้ความหวานที่ดีที่สุด ให้ความหวานหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 250-300 เท่า ให้มีพลังงานน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม น้ำตาลเทียมหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้ ก็ได้แฝงอันตรายเอาไว้อยู่เหมือนกัน ถ้าทานหรือนำเข้าร่างกายไปในปริมาณที่เกินกว่าความเหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายคือ สารเคมีตกค้างในร่างกาย ก่อให้เกิดการก่อตัวของโรคมะเร็ง และยังมีรายงานที่พบในตอนหลังว่า มีผู้ทำการทดลองและพบว่า การทานสารให้ความหวานทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงาน นำพาไปสู่การหวนกลับไปกินอาหารชนิดอื่นที่ให้พลังงานมากกว่าเดิม อีกทั้งยังพบว่า แอสปาแตมที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ และมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาแตมได้ ซึ่งจะผลิตก๊าซออกมาด้วย จึงทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายได้มากกว่าปกติ และอันตรายมากที่สุดก็คือ กรดแอสปาร์ติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำตาลเทียม ก็สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองได้ และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมในสมองมาก ๆ ก็ทำให้สมองได้รับอันตรายได้
Log in to reply.